สวัสดีครับทุกท่าน เมื่อวันที่ 5 ก.ค.59 ผมได้มีโอกาสสรุปการทำงานเพื่อนำเสนอให้กับภาคีเครือข่ายของมูลนิธิเพื่อคนไทย เพื่อความร่วมมือในอนาคตในการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงพลังพลเมือง กับปัญหาการละเมิดกฎหมายที่เราพบเห็นทั่วไปในชีวิตประจำวัน รวมถึงการรวมพลังแจ้งเตือนอันตรายต่างๆ บนท้องถนนและบนทางเท้า เพื่อความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของทุกๆ คน ในสังคมไทย แอบปลื้มกับพี่ๆ น้องๆ ภาคีทุกท่าน และผมจะทยอยนำผลงานที่ทำมาหลายเดือน แบ่งปันผู้อ่านทุกท่านในลำดับต่อๆ ไป เพราะข้อมูลเยอะมากๆ ครับ
ผมกำลังนำเสนอโครงการกับทุกท่านครับ
"สังคมอยู่ดีกับพลังตาพลเมือง"
เครื่องมือเสริมสร้างพลังพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ผู้ดำเนินโครงการสังคมอยู่ดีกับพลังตาพลเมือง ได้นำเสนอโครงการต่อภาคีผู้เกี่ยวข้องสำคัญ อันได้แก่ มูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย) กองทุนเวลาเพื่อสังคม และอาจารย์ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมูลนิธิเพื่อคนไทย หารือการขยายผลโครงการร่วมกัน
คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล อโชก้าเฟลโลว์ กรรมการผู้จัดการบริษัท พีดับบลิวดี เอาท์ซอส เมเนจเมนท์ จำกัด ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการว่า เป้าหมายของโครงการ “สังคมอยู่ดีกับพลังตาพลเมือง”นี้ได้มีการปฏิบัติการนำร่องโดยอาศัยทีมงานผู้พิการทางการได้ยินที่ผ่านการอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องและทักษะในการออกสำรวจพื้นที่สาธารณะ ใน 3 ปัญหาหลักคือ
1. อุปสรรคบนบนพื้นที่สาธารณะ ฟุตบาทและสะพานลอย
2. ป้ายโฆษณาที่มีโครงสร้างที่อาจเป็นอันตราย และ
3 ป้ายโฆษณาที่กระทำความผิด พ.ร.บ. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมเชิญชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นพลังพลเมือง ติดตามการร้องเรียนและความคืบหน้าผ่านเวบไซต์
http://citizeneyespower.blogspot.com
ผลการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา ได้สำรวจพื้นที่ 40 เส้นทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และส่งเรื่องร้องเรียนไปยังหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ได้รับการตอบรับและการลงพื้นที่ปฏิบัติการกับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนกอง จังหวัดนนทบุรี
จากข้อมูลดังกล่าวจึงนำมาสู่การขยายผลโครงการ หารือกับภาคีในที่ประชุมว่า ควรจะมีการนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จและสร้างการมีส่วนร่วมกับเจ้าของพื้นที่หลักในแต่ละสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต รวมถึงนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษา ในการร่วมพัฒนาต่อยอดโครงการสังคมอยู่ดีกับพลังตาพลเมือง เพื่อกระตุ้นการสร้างจิตสำนึกในการเคารพพื้นที่สาธารณะ และเพื่อเป็นการพัฒนาให้เยาวชนมีความเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวมต่อไปในอนาคต
คุณจารุวรรณ ชาญเดช รองผู้อำนวยการ กองทุนเวลาเพื่อสังคม กล่าวว่า กองทุนเวลาเพื่อสังคมพร้อมเชื่อมต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทในการกำกับและดูแลโดยตรงอาทิ สำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร พร้อมโรงเรียนในสังกัดว่ามีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในโครงการนี้หรือไม่ เพราะหากชุมชนภาคประชาชนและภาครัฐร่วมมือกันจะทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างยั่งยืน
ผศ. มรรยาท อัครจันทโชติ อาจารย์ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า การต่อยอดโครงการในลักษณะนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยสื่อใหม่ ร่วมกับพลังคนรุ่นใหม่ ซึ่งคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยินดีร่วมเป็นภาคีและสนับสนุน
อนึ่ง โครงการสังคมอยู่ดีกับพลังตาพลเมือง เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรวมคนไทยใจดีที่เกิดจากความร่วมมือของ บลจ. บัวหลวง มูลนิธิเพื่อคนไทยและสถาบันเช้นจ์ฟิวชัน รวมถึงได้สมัครเข้าร่วมในโครงการร้อยพลังเปลี่่ยนประเทศ โดยมูลนิธิเพื่อคนไทย องค์กรสาธารณประโยชน์ที่มีเป้าหมายในการสร้างพลังพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen) และสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายภาคสังคมและภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดการประสาน แลกเปลี่ยนทรัพยากรและเกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ยินดีสนับสนุนและพัฒนาโครงการต่อยอดพัฒนาโครงการร่วมกันต่อไปในอนาคต
เครดิตบทความและภาพจาก
https://www.facebook.com/caritasthailand.lcf/
พี่ๆ น้องๆ ภาคีเครือข่าย ครับ
ผู้เข้าร่วมประชุม ดังนี้ครับ
1.
คุณจารุวรรณ ชาญเดช/ รอง
ผอ.กองทุนเวลาเพื่อสังคม
2.
คุณบุญญาพร ไชยเดช/
ผจก.กองทุนเวลาเพื่อสังคม
3.
นายปรีดา ลิ้มนนทกุล/ ผู้ดูแลโครงการ “สังคมอยู่ดี
กับพลังตาพลเมือง”
4.
คุณปิยาวันทน์ ประยุกต์ศิลป์/
ผอ.มูลนิธิเพื่อคนไทย
5.
คุณกิ่งกาญจน์ จันทร์สกาวรัตน์/
จนท.พัฒนาโครงการเพื่อสังคม มูลนิธิเพื่อคนไทย
6.
คุณพจนีย์ บุญเจริญสุข/
ผจก.ฝ่ายสื่อสารสังคม
7.
คุณกรวรรัฎฐ์ วรรัตนวงศ์/ Program
Manager, Venture and Fellowship, มูลนิธิอโชก้า (ประเทศไทย)
8.
ผศ.มรรยาท อัครจันทโชติ/
อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับผมแล้ว ผมภูมิใจกับโครงการนี้ เพราะเป็นอีกโครงการที่อาจจะทำให้พลเมืองในสังคมไทยมีความรู้มากขึ้น ภายใต้กฎหมายที่เรามีอยู่แล้ว แต่เราอาจจะละเลย และอาจเป็นจุดเล็กๆ ที่สามารถเติบโตขยายความช่วยเหลือ ความมีส่วนร่วม ขึ้นมาได้อย่างมีนัยยะ เช่นเดียวกันกับ อาจมีคนทราบน้อยมากว่า "เครือข่ายคนพิการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ" ที่เราจัดตั้งขึ้นมานั้น เคยเป็นผู้มีส่วนรวมบุกเบิกโครงการ "สวดมนต์ข้ามปี" จนปัจจุบันนี้สังคมไทยยอมรับ และมีประชาชนจำนวนมากที่เข้าร่วมกิจกรรมทุกปี ครับ
ผมสำนึก และขอขอบพระคุณ "กองทุนรวมคนไทยใจดี" ที่สนับสนุนโครงการครับ