ความเป็นมา

หัวข้อโครงการและข้อมูลผู้รับผิดชอบโครงการ

ชื่อโครงการ    “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” (Citizen Eyes Power)

ประเด็น                   สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้สังคมอยู่ร่มเย็นเป็นสุข

คำอธิบายโดยย่อ        ในปัจจุบันสังคมไทยละเลยกฎหมาย ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชุมชน และในสังคมเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาทิเช่น ป้ายโฆษณาที่เสื่อมสภาพพร้อมที่จะล้มลงมาสร้างความเดือดร้อนเมื่อมีลมพายุฝน หรือ สภาพแวดล้อมบนถนนและฟุตบาท ที่ไม่เอื้อต่อการใช้งาน เนื่องจากการไม่ประสานงานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้มีอุปสรรคมากมาย หรือ การติดตั้งป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการกระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดการดื่มมากขึ้น และเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดมากมาย ทั้งอุบติเหตุ คดีข่มขืน การทะเลาะวิวาท การฆ่ากันตาย ดังนั้น ทีมงานคนพิการที่ผ่านการอบรมความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะออกสำรวจสภาพแวดล้อม 3 เรื่อง คือ 1) อุปสรรคบนถนน-ฟุตบาท-สะพานลอย 2) ป้ายโฆษณาที่มีโครงสร้างที่อาจเป็นอันตราย และ 3) ป้ายโฆษณาที่กระทำความผิด พรบ.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลทั้งหมดจะทำการบันทึกผ่านระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ และจะทำการ ส่งเรื่องติดตาม ผลการประสานงานเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมต่อไป

ภาพรวมของโครงการ
2.1     ปัญหา 3 เรื่องที่เป็นจุดเริ่มต้นของความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

          ปัจจุบันทุกประเทศทั่วโลกมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายลูกต่างๆ ทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งเนื้อหาของกฎหมายก็จะมีทั้งข้อปฏิบัติ ข้อห้าม นำไปสู่บทลงโทษทุกฉบับ สิ่งสำคัญคือ การละเลยการบังคับใช้ การละเมิด หรือใช้ช่องว่างทางกฎหมาย ในการทำประโยชน์ ทำให้เกิดความวุ่นวาย เกิดอุบัติเหตุ เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดผลเสียหายต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติทั้งสิ้น ไม่เว้นประเทศไทยของเรา

          จากการดำเนินชีวิตประจำวัน จากภาพข่าวที่รับชมรับฟัง จะพบข่าวป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ล้มพังทำลายชีวิตและทรัพย์สินของส่วนรวมอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะเมื่อมีลมพายุฝน อีกปัญหาที่เป็นข่าวบ่อยครั้งคือ คดีความต่างๆ ที่ผู้กระทำความผิดมักใช้เป็นเหตุผลที่กระทำความผิดจากการเมา หรือดื่มสุรา (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์) เช่น คดีข่มขืน คดีทะเลาะวิวาท ฆ่ากันตาย เป็นต้น และข่าวที่มาเป็นระยะๆ อันเกิดจากความไม่เรียบร้อย ไม่เอาใจใส่ต่อสภาพแวดล้อมที่ทุกคนในสังคมต้องดำเนินชีวิตประจำวัน บนท้องถนน บนฟุตบาท บนสะพานลอย เป็นต้น ยกตัวอย่างล่าสุด คือ การเกิดอุบัติเหตุที่มีนักธุรกิจชาวอังกฤษมาดูงานสร้างโรงงาน และพลัดตกท่อที่เปิดไว้ลึก 3 เมตร จนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ชาวอังกฤษที่ประสบเหตุจะฟ้องร้องกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง

          จุดที่น่าสังเกตคือ ปัญหาทั้ง 3 เรื่องนี้สามารถพบเจออยู่ทั่วไป ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล หากเดินสำรวจบนฟุตบาท ก็จะพบเห็นอุปสรรคบนฟุตบาท รวมทั้งป้ายโฆษณาใหญ่ก็เช่นเดียวกัน และไม่เว้นที่จะมีร้านค้า ร้านอาหาร ที่มักจะมีป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้น โครงการ “สังคมอยู่ดี กับคนไทยใจดี” จึงเป็นโครงการบูรณาการที่จะเข้ามาสำรวจปัญหาทั้ง 3 เรื่องไปพร้อมๆ กันในการสำรวจครั้งเดียวด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่เข้าถึงได้ง่ายในยุคปัจจุบัน เพิ่มเติมข้อมูลปัญหาแต่ละเรื่องดังนี้

2.1.1 ปัญหาเกี่ยวกับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่มีความไม่ปลอดภัย มีการล้มพัง อันเนื่องจาก มีอายุการใช้งานมานาน หรือเมื่อมีลมพายุฝน หรือทั้งสองสาเหตุรวมกัน

ในอดีตต้นศตวรรษที่ 19 ประเทศสหรัฐอเมริกามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากทำให้มีการถือกำเนิดป้ายโฆษณาขึ้น นับจากนั้นจนถึงปัจจุบันในโลกของธุรกิจ เชิงพาณิชย์ มีการแข่งขันกันสูง การโฆษราผ่านป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ได้รับความนิยม หลากหลายรูปแบบวิธีการ เช่น การโฆษณาบนอาคารสูงเทคนิคการใช้สติ๊กเกอร์ หรือการโฆษณาบนป้ายขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ ลงเสาเข็ม และมีวิศวกรรมโยธารับรองแบบ ตามกที่กฎหมายบังคับ แต่เมื่อมีอายุการใช้งานมากขึ้น จะขาดการซ่อมบำรุง เกิดการเสื่อมสภาพ เนื่องจากอายุการใช้งานมากขึ้น โครงสร้างถูกทำลาย อาทิปัญหาสำคัญ คือ โครงสร้างเป็นเหล็กฉาก และใช้เทคนิคการเชื่อม และการใช้ Bolt-Nut ในการประกอบติดตั้งโครงสร้าง และลงท้ายใช้สีป้องกันสนิมทา ส่วนชั้นนอกสุดเป็นสีที่ทาไว้เพื่อความสวยงามและป้องกันสีชั้นในจากการถูกกัดกร่อนจากสภาพภาวะแวดล้อมปัจจุบัน มักขาดการดูแลซ่อมบำรุงทุกปี

ภาพตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันนิยมใช้โฆษณาสินค้ากันอย่างแพร่หลาย
ภาพตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่พังลงมา หรือถูกทำลายจากภัยธรรมชาติ

          เมื่อสีชั้นนอก และสีชั้นใน ที่ถูกแดดและฝนตลอดทั้งปี หลายปีผ่านไป เกิดการแลกเปลี่ยนประจุจนทำให้เนื้อเหล็กเริ่มถูกทำลาย จนในที่สุดพังลงมาเอง หรือไม่สามารถทนต่อแรงลมพายุฝนได้ ซึ่งหลักการของการดูแลรักษาซ่อมบำรุงโครงสร้างป้ายโฆษณาขนาดใหญ่เหล่านี้ ใกล้เคียงกับเรือเดินทะเล ที่ต้องมีการเคลือบแมกนีเซียมไว้ชั้นนอกสุดของตัวสีที่ทาภายนอกขอองผิวเรือ เพื่อให้แลกเปลี่ยนประจุ (การถูกกัดกร่อน) กับน้ำทะเล และต้องทำการเคลือบแมกนีเซียมเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันผิวภายนอกไม่ให้ถูกทำลาย ผุกร่อน ซึ่งจะเป็นอันตรายในระหว่างเดินทะเล
ลักษณะป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่สถานที่ติดตั้งไม่ใกล้ที่พักอาศัย เช่น ตามริมถนน หรือหน้าบริษัทที่ติดริมถนน เป็นต้น

ภาพตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ติดตั้งบนตัวอาคาร หรือใกล้ที่พักอาศัย

          ดังนั้นจะเห็นได้ว่า หากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ที่ขาดการดูแลรักษา เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบกับโครงสร้างของป้ายฯ จะทำให้เกิดดารล้มพังลงได้ จึงควรได้รับการสำรวจ และแจ้งเตือน เพื่อเฝ้าระวัง และสร้างบรรทัดฐานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการติดตามและมีการประเมินสภาพอายุการใช้งานทุกปี เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

2.1.2 ปัญหาเกี่ยวกับป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกออฮอล์มากขึ้น ทำให้เป็นต้นทางที่อาจเป็นสาเหตุของการกระทำความผิดมากมาย ทั้งอุบติเหตุ คดีข่มขืน กาทะเลาะวิวาท การฆ่ากันตาย เป็นต้น

ภาพตัวอย่างป้ายโฆษณาขนาดใหญ่และป้ายโฆษณาเครื่อองดื่มแอลกอฮอล์ตามหน้าร้านอาหารริมถนน
ภาพตัวอย่างร้านค้าขายส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีป้ายโฆษณาขนาดใหญ่และป้ายแขวนโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          จากหลักจิตวิทยาและหลักการตลาด การโฆษณาให้ลูกค้าเห็นผลิตภัณฑ์นั้นสามารถกระตุ้นการบริโภคได้ ยกตัวอย่างเช่น การแทรกภาพผลิตภัณฑ์แฝงในการโฆษราผ่านรายการทีวี เป็นต้น ทำให้ร้านค้าริมถนนทั้งถนนสายหลัก หรือแม้แต่ริมถนนสายรองต่างๆ ที่มีการติดตั้งป้ายชื่อร้าน ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่จะเป็นโลโก้ หรือแบรนด์ หรือสัญลักษณ์ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยี่ห้อต่างๆ แทบทุกร้าน อันเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น ร้านค้าต้องการป้ายโฆษณาชื่อร้านฟรี จากบริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อประชาสัมพันธ์ร้าน หรือได้รับการกระตุ้นจากบริษัทผู้ผลิตหรือนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขาย จึงให้ติดตั้งป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไว้หน้าร้านดังภาพตัวอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่ร้านค้าแทบไม่ทราบว่าตนเองกำลังกระทำความผิดในการโฆษณาสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ภาพตัวอย่างร้านค้าที่มีป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชื่อร้านในป้ายเดียวกันที่นิยมและแพร่หลายมาก

          ในภาวะปัจจุบัน สาเหตุสำคัญๆ ของคดีความอาชญากรรมต่างๆ นั้น นอกจากยาบ้า ที่เป็นต้นเหตุ สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นต้นเหตุสำคัญอีกเช่นกัน และเป็นสิ่งเสพติดที่สามารถทำให้เกิดโรคและต้องได้รับการบำบัด เช่นเดียวกัน การเกิดอุบัติเหตุ การกระทำความรุนแรงต่อเด็กและสตรี คดีล่วงละเมิดทางเพศ คดีทะเลาะวิวาท คดีฆ่ากันตาย เกิดขึ้นจากสาเหตุการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นหลัก เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีหลายระดับราคา ตั้งแต่ 40 บาทขึ้นไป จึงทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะบุคคลที่ใช้แรงงาน ซึ่งรวมถึงชาวต่างด้าว

          ดังนั้นประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ผู้เกี่ยวข้องกลับละเมิดกฎหมาย อีกทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังเป็นต้นเหตุแห่งการเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของพลเมืองและสังคมประเทศชาติ จึงควรได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป

2.1.3 ปัญหาอุปสรรคบนถนน บนฟุตบาท (บาทวิถี) และบนสะพานลอย ที่มีทั้งสิ่งปลูกสร้าง สิ่งยึดตรึง การรุกล้ำพื้นที่ เช่น การต่อเติมอาคาร การสร้างร้านค้า หรือพื้นที่การขายชั่วคราว เสาไฟฟ้า ตู้ชุมสาย ตู้โทรศัพท์ สายไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่เรียบร้อย เป็นต้น อาทิเช่น

ภาพตัวอย่างสิ่งกีดขวางถนนและบนฟุตบาท ที่ละเมิดกฎหมายท้องถิ่น และพรบ.จราจรและขนส่งฯ

·       การจอดรถบนฟุตบาท และการขับขี่รถมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาท ผิดพระราบัญญัติรัฐท้องถิ่น
·       การตั้งวางสิ่งกีดขวาง หรือแผงลอยร้านค้า บนฟุตบาท ผิดพระราบัญญัติรัฐท้องถิ่น
·       การวางสิ่งของหรือกระทำการใดๆ ที่ทำให้เกิดการกีดขวางการจราจร ผิด พรบ.จราจรและขนส่งฯ เป็นต้น

ภาพตัวอย่างสิ่งกีดขวางบนฟุตบาท ที่เป็นป้ายโฆษณา และร้านค้าแผงลอย ที่ละเมิดกฎหมายรัฐท้องถิ่น
ภาพตัวอย่างอุปสรรคบนฟุตบาทและบนถนนที่เกิดจากการละเลยของผู้เกี่ยวข้อง เช่น ฝาท่อระบายน้ำชำรุด
ภาพตัวอย่างของการไม่ประสานงานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้การบริการประชาชน

          จากหลายสาเหตุของการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติต่างๆ ที่สามารถพบเจอบนถนนและฟุตบาท ยังมีอุปสรรคต่างๆ บนถนนและฟุตบาท อันเกิดจากการละเลยในการปฏิบัติหน้าที่ และการไม่ประสานงานกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นงานภาคบริการประชาชน อาทิเช่น
·       บนสะพานลอยมีสายไฟฟ้าแรงสูง และสายโทรศัพท์ ทำให้กีดขวางการใช้งาน
·       ฝาท่อระบายนำเปิดทิ้งไว้ หรือไม่มี หรือมีสภาพชำรุดเสียหาย
·       การใช้งบประมาณไม่คุ้มค่า เช่น การปูแผ่นพื้นนำทางคนพิการทางสายตา ที่มีสิ่งกีดขวาง หรือไม่ถูกต้องตามหลักการใช้งาน
·       มีเสาไฟฟ้ากีดขวางทางบนฟุตบาท ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น

หากลองพิจารณาดูจะพบว่า ความเดือดร้อนของประชาชนในชีวิตประจำวันนั้นมีอยู่หลายเรื่องเป็นจำนวนมาก ในเบื้องต้นหากพิจารณาจากการที่ปัญหานั้นสามารถพบเจอได้ทั่วไป ควรแบ่งออกเป็นหมวดได้ 23 หมวด (แต่ละหมวดสามารถแยกรายละเอียดได้อีกในอนาคต) ดังนี้
·       หมวดที่1 เรื่องฉุกเฉิน
·       หมวดที่2 อาคาร
·       หมวดที่3 บาทวิถี
·       หมวดที่4 ถนน
·       หมวดที่5 สะพาน
·       หมวดที่6 เขื่อนคูคลอง
·       หมวดที่7 ท่อระบายน้ำ
·       หมวดที่8 ที่พักผู้โดยสาร
·       หมวดที่9 ไฟฟ้า
·       หมวดที่10 ประปา
·       หมวดที่11 โทรศัพท์
·       หมวดที่12 ขยะและสิ่งปฏิกูล
·       หมวดที่13 น้ำท่วม
·       หมวดที่14 ต้นไม้ สวนสาธารณะ
·       หมวดที่15 สภาพแวดล้อม
·       หมวดที่16 กระทำผิดในที่สาธารณะ
·       หมวดที่17 ปัญหาจราจร
·       หมวดที่18 การบริหารงานบุคคล
·       หมวดที่19 การคุ้มครองผู้บริโภค
·       หมวดที่20 ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
·       หมวดที่21 ยาเสพติด
·       หมวดที่22 เหตุเดือดร้อนรำคาญ
·       หมวดที่23 เรื่องร้องทุกข์ประเภทอื่นๆ

จะเห็นว่าโครงการ “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” (Citizen Eyes Power) สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มต้นแก้ปัญหาสังคมได้ถึง 10 หมวด (ไฮไลท์สีเหลือง) จากทั้งหมด 23 หมวด โดยการสำรวจ การออกหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประสานงานติดตาม และการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างผลกระทบต่อสังคม กระตุ้นการมีส่วนร่วมของสังคมต่อไป
(อธิบายปัญหาที่ต้องการแก้ไข พร้อมหลักฐาน ตัวเลข สถิติ ถ้ามี)

2.2     ทางแก้ปัญหา (อธิบายสิ่งที่จะทำเพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมระบุกลุ่มเป้าหมาย)
          จากปัญหาใหญ่ๆ สำหรับโครงการ “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” (Citizen Eyes Power) ที่สามารถพบเห็นได้บนท้องถนนที่เราดำรงชีวิตประจำวัน 3 เรื่อง คือ 1) ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่, 2) ป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ 3) อุปสรรคและสิ่งกีดขวางบนถนนและฟุตบาท ทางออกของปัญหา คือ ต้องกลับไปเริ่มต้นที่กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะถือว่าเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหา ดังนี้

2.2.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และแนวทางการแก้ปัญหา

ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีหลายประเด็นน่าสนใจที่ทำให้เห็นว่ามีการละเมิดกฎหมายที่พบเห็นได้ทั่วไป ยกตัวอย่าง เช่น ป้ายที่ติดตั้งอยู่บนที่ดินโดยตรง ต้องมีความสูงไม่เกินระยะที่วัดจากจุดที่ติดตั้งป้ายไปจนถึงกึ่งกลางถนนสาธารณะ และสูงไม่เกิน 30 เมตร มีความยาวไม่เกิน 32 เมตร และต้องห่างจากที่ดินเจ้าของไม่น้อยกว่า 4 เมตร หรือ อีกรณีคือ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้าย บนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารต้องไม่ล้ำออกนอกแนวผนังรอบนอกของอาคาร และส่วนบนสุดของป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งต้องสูงไม่เกิน 6 เมตร จากส่วนสูงสุดของอาคารหรือดาดฟ้าของอาคารที่ติดตั้งป้ายนั้น ซึ่งทั้งสองกรณีมีการละเมิดกฎหมายจำนวนมาก

จากข่าวล่าสุดเมื่อ 31 พฤษภาคม 2558 หัวข้อข่าว “700 ป้ายโฆษณาทั่วกรุงอ่วม เจอกฎหมายควบคุมป้ายใหม่-ต้องแก้” ได้กล่าวถึงความปลอดภัย ดังนี้ “นาสาคร ตรีธนจิตต์ นายกสมาคมป้ายและโฆษณา เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกฎกระทรวงฉบับใหม่ ว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2558 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่ 24 เม.ย.58 ที่มีการประกาศกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาว่า กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นกฎหมายที่จะช่วยให้การควบคุมการดำเนินการเกี่ยวกับป้ายมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางสมาคมฯ ได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการคำนึงถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยมาตั้งแต่แรก โดยมีโครงการตรวจความแข็งแรงและให้ป้ายรับรองผ่านการตรวจสอบ รวมทั้งเรื่องการทำประกันภัยบุคคลที่ 3 ก็มีการดำเนินการโดยความสมัครใจมาตั้งแต่กฎหมายฉบับนี้จะกำหนดบังคับใช้ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ป้ายโฆษณาล้มที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียต่อประชาชนนั้น มีหลายสาเหตุซึ่งในส่วนของการสร้างป้ายไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ผู้ที่เป็นผู้ประกอบการต้องมีความใส่ใจในความรับผิดชอบของตนเอง”

เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ ได้ลงข่าวเมื่อ 18 มีนาคม 2558 หัวข้อ “กทม. หวั่นป้ายโฆษณาล้มทับคนกรุง สั่งทุกเขตตรวจสอบความแข็งแรง รับมือพายุฤดูร้อน 20-23 มี.ค.58 นี้” มีเนื้อหาด้านการกระทำความผิดและด้านความปลอดภัย ดังนี้ “นายสัญญา ชีนิมิต ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนว่าในวันที่ 20-23 มี.ค.นี้ ประเทศไทยจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและมีลมกรรโชกแรง ซึ่งในกรุงเทพฯ อาจจะเกิดฝนตกและมีลมกรรโชกแรงอันเนื่องจากพายุฤดูร้อน ว่าอาจมีผลทำให้ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หักและโค่นล้มทับที่อยู่อาศัยหรือทำลายทรัพย์สินประชาชนเสียหายได้ จึงให้สำนักงานเขต ดำเนินการแจ้งเจ้าของป้ายโฆษณาทำการตรวจสอบการใช้งานและความมั่นคงของป้าย รวมทั้งเร่งรัดการรื้อถอนป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงกับป้ายโฆษณารับทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ในกรณีที่สำนักงานเขตจะทำการรื้อถอนหรือปลดแผ่นป้าย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากป้ายล้ม หากต้องการจะใช้เครื่องมือกลหนักและเบา ให้ประสานงานสำนักการโยธาเพื่อสนับสนุน”

และกระทรวงมหาดไทย ยังมีการประกาศในเว็บไซต์ของกรมโยธาและการผังเมือง www.DPT.go.th  เรื่อง “การควบคุมดูแลความปลอดภัยของอาคารและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่” ในช่วงลมพายุฝนดังกล่าว อีกทั้งยังทำหนังสือถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ที่กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศ โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ผิดกฎหมายและไม่มีความมั่นคงให้ดำเนินการรื้อถอนตามมาตรา 46 ให้ตรวจสอบแก้ไข หากไม่แก้ไขให้พิจารณาสั่งรื้อถอนป้ายนั้นตามมาตรา 42 ต่อไป และหากยังมีการฝ่าฝืนให้มีโทษตามมาตรา 65 ทวิ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากข้อมูลข่าว และประกาศ แสดงให้เห็นว่าปัญหาของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่นั้น มีตั้งแต่การติดตั้งไม่อยู่ในกรอบของกฎหมาย เมื่อติดตั้งแล้วขาดการดูแลบำรุงรักษา จนทำให้เมื่อมีลมพายุฝน ป้ายจะล้มพังทำลายชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ใกล้ตัวและพบเห็นได้ตามท้องถนนในชีวิตประจำวันของเรา

ทางแก้ปัญหา ตามแนวทางของโครงการ “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” คือ ต้องมีการสำรวจ ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์ ตามสิทธิ์ของความเป็นประชาชนที่ปกป้องสิทธิ์ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ตามข้อ 2.3 วิธีการทำงาน)

2.2.2 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และแนวทางการแก้ปัญหา

ปัจจุบันในชีวิตประจำวันเราจะพบเจอข่าวการกระทำความผิดต่างๆ ทุกวันที่มีสาเหตุจากอาการมึนเมา อันเนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เมื่อศึกษาด้านกฎหมายตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ยังพบว่าการกระทำความผิดตาม พรบ. ดังกล่าว เช่น เรื่องสถานที่ เวลา อายุผู้ซื้อ และปัญหาสำคัญคือ การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันมากมาย เช่น สื่อสิงพิมพ์ การฉายภาพ วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ เครื่องมือทางอิเลคทรอนิคส์ และป้ายโฆษณาที่พบเห็นตามร้านค้า ร้านอาหาร ริมถนนทั่วไป

การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 32 และตามมาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 32 ต้องระวางโทษจะคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากต้องระวางโทษดังกล่าวแล้ว หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 50,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

จากการลงทำกิจกรรมสำรวจที่จังหวัดชัยนาท เมื่อปี 2556 และออกหนังสือต่อเจ้าพนักงานตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 (สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท) เมื่อมีการติดตาม พบว่าร้านค้าส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองละเมิดพระราชบัญญัติ จากนั้นเจ้าพนักงานที่ดูแล จัดประชุมผู้ประกอบการเพื่อชี้แจง และทำการปรับสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามให้เป็นตัวอย่าง

ภาพตัวอย่างร้านค้าขายส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่จังหวัดชัยนาท
ภาพตัวอย่างร้านค้าที่มีป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และชื่อร้านในป้ายเดียวกันที่จังหวัดชัยนาท

ทางแก้ปัญหา ตามแนวทางของโครงการ “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” คือ ต้องมีการสำรวจ ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์ ตามสิทธิ์ของความเป็นประชาชนที่ปกป้องสิทธิ์ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ตามข้อ 2.3 วิธีการทำงาน)

ภาพตัวอย่างหนังสือแจ้งการกระทำความผิด พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 จ.ชัยนาท

2.2.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุปสรรคสิ่งกีดขวางบนถนน บนทางบาทวิถีสาธารณะ และแนวทางการแก้ปัญหา
สำหรับปัญหาบนถนนและบาทวิถี โดยเฉพาะบาทวิถีนั้นมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ และมีผู้เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน กรณีอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ดูแลบนถนน จะบังคับใช้กฎตาม “พรบ. จราจรทางบก พ.ศ.2522” (มาตรา 114 ซึ่งห้ามมิให้มีการกระทำการในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร) หากมีการจำหน่ายสินค้าในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะร้านค้าแผงลอย เจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งจะเป็น เจ้าหน้าที่เทศกิจ บังคับใช้ การจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย ตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 แต่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานจะมีการตรวจความสะอาดตามระเบียบของเทศบัญญัติเทศบาลเสียก่อน เมื่อตรวจพบเชื้อโรค จึงจะใช้ “พรบ. การสาธารณสุข พ.ศ.2535” ในการบังคับใช้

ด้านสิ่งกีดขวางและอุปสรรคอื่นๆ นั้น ที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ใช้ที่สาธารณะ จะใช้พระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับร่วมกันในการพิจารณา และยังสามารถใช้กฎหมายอื่นเพิ่มเติมในการดำเนินโครงการฯ เช่น พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 เป็นต้น

ทางแก้ปัญหา ตามแนวทางของโครงการ “สังคมอยู่ดี กับพลังตาพลเมือง” คือ ต้องมีการสำรวจ ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์ ตามสิทธิ์ของความเป็นประชาชนที่ปกป้องสิทธิ์ในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ตามข้อ 2.3 วิธีการทำงาน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น